top of page
รูปภาพนักเขียนFortronMan

ไบโอดีเซล B7 และ B10 ต่างกันอย่างไร สายดีเซลต้องรับมือยังไง

อัปเดตเมื่อ 21 ก.ค. 2564

รู้เฟื่องเรื่องไบโอดีเซล

คนใช้รถดีเซลหลายคนทั้งกระบะ หรือรถที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ตามแต่ หลายคนอาจจะกังวลกันถึงนโยบายพลังงานที่จะให้ใช้ B10 เป็นหลักสำหรับรถที่ใช้ดีเซล โดยที่หัวจ่ายเป็นจะแสดงเป็นชื่อ “ดีเซล” เฉยๆ ส่วน “ดีเซล” ในปัจจุบันจะกลายเป็น “ดีเซล B7” และ “ดีเซลพรีเมี่ยม” จะเปลี่ยนเป็น “ดีเซล B7 พรีเมี่ยม” และ B20 อยู่ที่หัวจ่าย


ถามว่าคนใช้รถจะงงกันไหม งง!!

(ยิ่งเด็กปั้มนี่...ไม่ต้องพูดถึงเลยที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ)


(กำหนดการเปลี่ยนผ่านเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563)


แต่ !! ถ้าเรารู้ก่อน มันก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป แค่บอกเขาให้ถูก คุณก็จะได้น้ำมันอย่างที่คุณต้องการ ถือว่าคุณโชคดีมากที่ได้อ่านเรื่องนี้ก่อนใครเพื่อน


คำถามคือ รถของเราจะใช้ได้หรือไม่ หากมีการเปลี่ยนจาก B7 ไปใช้ B10 สำหรับคนที่ใช้ปีหลังๆ คงไม่กังวลสักเท่าไหร่นัก แต่คนที่ใช้รถเก่าอายุ 5 ปีขึ้นไปนี่สิ ไม่ว่าจะเป็นรถยุโรปหรือญี่ปุ่น จะไม่เป็นไรแน่หรือ ?


วันนี้ Fortron มีคำตอบให้

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “ไบโอดีเซล” กันก่อน **สำหรับใครที่เชี่ยวเรื่องนี้แล้วข้ามไป ช่วง “ผลกระทบกับเครื่องยนต์” ได้เลยครับ**


ที่มาของไบโอดีเซล (Biodiesel)

ไบโอดีเซลเป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่9 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เริ่มทดลองในพระราชวังสวนจิตรลดา ต่อมา ปี พ.ศ. 2545 น้ำมันเริ่มมีราคาสูง รัฐบาลจึงให้เริ่มใช้ B2 เป็นพลังงานทางเลือก และขยับมาเป็น B3, B4, B5


ช่วงนั้น ที่หัวจ่ายยังมีการระบุว่าเป็น B2, B3, B4, B5 โดยให้เป็นพลังงานทางเลือก เพราะยังมีน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ จำหน่ายอยู่


B2 คือ นำไบโอดีเซล 100% มาผสมในน้ำมันดีเซลในอัตราร้อยละ 2 หรือ 98:2 B3, B4, B5 ก็เช่นกัน

B คือ ตัวย่อของBiodiesel (ไบโอดีเซล) ตัวเลข 2, 3, 4, 5 จำนวนส่วนผสมที่เป็นร้อยละตามสัดส่วนกับน้ำมันดีเซล

จนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2556 กรมธุรกิจพลังงานประกาศให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ทุกยี่ห้อ ทุกหัวจ่าย ทุกยี่ห้อ ต้องมีส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 4.6 - 5 หรือเท่ากับ B5

เมื่อประกาศบังคับใช้แล้ว เท่ากับว่า น้ำมันดีเซลทุกหัวจ่ายในประเทศไทย จึงเป็นไบโอดีเซล B5 ทั้งหมด และไม่มีหัวจ่ายใดที่จำหน่าย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติอีกต่อไป

ดังนั้นหัวจ่ายน้ำมันที่ชื่อว่า B5 จึงหายไป กลายเป็น “ดีเซล” เฉยๆ นับแต่นั้นเป็นต้นมา


ต่อมาปี พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นการช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์มในการพยุงราคาปาล์มดิบ กรมธุรกิจพลังงานประกาศจึงประกาศให้ เพิ่มสัดส่วนของไบโอดีเซล จาก B5 เป็น B7 ซึ่งช่วงนั้น ก็จะมีปัญหาเรื่องของ ผลผลิตผลปาล์ม ตามฤดูกาล ช่วงปาล์มขาด ก็ลดลงเหลือ B5 บ้าง B6 บ้าง ช่วงผลผลิตปาล์มล้น ก็ขยับมาป็น B7

จนล่าสุด ในช่วงที่ พณฯ สนธิรัตน์ สนธิจิราวงศ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เป็นช่วงที่ราคาผลปาล์มดิบตกต่ำถึง เพียงกิโลกรัมละ 1.60 บาท จึงออกนโยบายแก้ไขด้านราคาปาล์ม โดยให้ใช้ B10 เป็นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 พร้อมทั้งดึงสต็อก 2 ใน 3 ของสต็อกปาล์มที่ผลิตได้ทั่วไประเทศมาอยู่ที่กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบด้านพลังงาน อีก 1 ส่วนยังคงอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ใช้ในการบริโภค เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เรื่องสต็อกล้น สต็อกขาด ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีเสถียรภาพ

ในขณะเดียวกัน ยังได้ให้รถใหญ่ เช่น รถบรรทุก รถบัส ใช้ B20 เพื่อช่วยดึงจำนวนสต็อกปาล์มให้ลดลง

แต่เนื่องจากมีรถบางรุ่นบางประเภท ที่ใช้ B10 ไม่ได้ โดยเฉพาะรถยุโรป จึงยังคงให้มี B7 ไว้จำหน่ายอีกด้วย ทำให้ ปัจจุบัน ไบโอดีเซลในสถานีบริการน้ำมัน จะมี 3 ประเภท คือ B7, B10, B20

ทั้งนี้ ไม่รวมน้ำมัน ดีเซลเกรดพรีเมี่ยม ที่เป็น B7 เป็นพื้นฐาน



หลังจากรู้ที่มาที่ไปแล้วมามันมาอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ไบโอดีเซล นี่มันมีคุณสมบัติยังไงกัน


คุณสมบัติของไบโอดีเซลที่แตกต่างจากดีเซลปกติ

- มีคราบไขมันสูง เพราะสกัดจากปาล์มน้ำมัน - จับตัวเป็นก้อนไขหากเจออุณหภูมิเย็น

- มีอัตราเกิดน้ำในถังน้ำมันสูงกว่าน้ำมันดีเซลปกติ เป็นต้นเหตุของสนิมในถังน้ำมัน

- การเจอกับน้ำที่เกิดในถังน้ำมันจะทำให้เกิด “ชั้นคราบไขมัน” หรือที่เรียกกันว่า แว๊กซ์ (Wax)

- อัตราเชื้อราและแบคทีเรียในชั้นคราบไขมันสูง เนื่องจากสกัดจากพืช (น้ำมันปาล์ม )

- เกิดเมือกเหนียว Biofilm จากการย่อยสลายน้ำมันไบโอดีเซลของเชื้อราและแบคทีเรียซึ่งเมือกเหนียวนี้มีความเป็นกรดสูง และจะเกาะติดกับเครื่องยนต์ ตะกอน คราบสนิม หรือผิวชิ้นส่วนก่อเป็นก้อนอุดตันในเครื่องยนต์ รวมถึงกัดกร่อนชิ้นส่วนสัมผัสในเครื่องยนต์ด้วย



ลักษณะของไบโอฟิล์ม (Biofilm)


หลังจากรู้แล้วว่า คุณสมบัติของไบโอดีเซลเป็นอย่างไร และสร้างอะไรบ้าง ต่อไปเรามาดูอาการที่คนใช้รถจะเจอกันดีกว่า


ผลกระทบกับเครื่องยนต์

เชื่อว่าคนใช้รถดีเซลหลายคนต้องเคยเจอหนึ่งในอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น

- อาการเครื่องกระตุก - เดินรอบเบาแล้วเครื่องดับ - สตาร์ทเครื่องเย็นติดยาก - กินน้ำมันผิดปกติ - เร่งไม่ค่อยขึ้น - ควันดำมากผิดปกติ (โดนใจจ่าจับควันดำ)


ที่มาของมันก็คือการใช้ “ไบโอดีเซล” อาจจะเพราะด้วยความไม่รู้ แต่ไม่เป็นไร เราจะมาบอกกันที่นี่เลย


ผลกระทบอันหนักหน่วงจาก ไบโอดีเซล หลักๆ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เครื่องยนต์ทำการฉีดจ่ายน้ำมันได้ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงมีการดูดคราบไขและน้ำเข้าไปในห้องเผาไหม้พร้อมกับน้ำมัน


อาการที่ผู้ใช้จะสัมผัสได้ผ่านการขับขี่คือ อาการเครื่องกระตุก เครื่องสั่น ควันดำมากขึ้น อาการเดินรอบเบาแล้วเครื่องดับ กินน้ำมันมากขึ้นและสตาร์ทติดได้ยากหากมีสะสมอยู่ในปริมาณมาก


อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาของไบโอดีเซลคือ “การจับตัวเป็นไข” หากเป็นในโซนภาคกลางที่อุณหภูมิค่อนข้างร้อนอาจจะไม่พบปัญหาจากการที่ไบโอดีเซลแข็งตัวมากนัก แต่หากเป็นโซนภาคเหนือ บริเวณที่อากาศเย็น หรือช่วงหน้าหนาวที่อุณหภูมิในเวลากลางคืนต่ำ จะทำให้ไบโอดีเซลจับตัวเป็นก้อนไข ทำให้น้ำมันไหลผ่านไม่ได้ ส่งผลให้เครื่องยนต์สตาร์ตไม่ติด และทำให้เครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้นจากการที่ฝืนสตาร์ทเครื่องยนต์


(เสริม - ผู้ใช้รถหลายคนอาจจะบอกว่า ไบโอดีเซลเกรดสูงๆ ได้ทำการล้างไขมันไปหมดแล้ว

ทางโฟรตรอนเลยได้ลองสอบถามข้อมูลไปทางสถานีบริการน้ำมันหลายค่าย

และได้ความว่า

ไบโอดีเซลทุกเกรดที่มีอยู่ในตลาด จะมีไขมันผสมอยู่ 0.4% เป็นอย่างน้อย)


ภาพหัวฉีดที่เกิดการอุดตัน

ภาพกรองโซล่าของรถที่ใช้ไบโอดีเซลที่เปลี่ยนก่อนกำหนด

และคราบไขมันก้นถังน้ำมัน จากรถใช้ไบโอดีเซล

 

ไบโอดีเซล B7 และ B10 ต่างกันอย่างไร

เมื่อรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์แล้ว มาลองเปรียบเทียบกันดูเลยดีกว่า ว่าคนใช้รถดีเซลต้องดูแลอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง จากการเปลี่ยนมาใช้ B10

วิธีดูแลแบบเดิมตอนใช้ B7

1. การเปลี่ยนหัวฉีดและล้างทำความสะอาดหัวฉีดรถยนต์ ทุก 10,000 กม.

2. เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงให้บ่อยขึ้นกว่าปกติ ทุก 20,000 กม.

3. การล้างถังน้ำมันอย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือสั้นกว่า

วิธีการแก้ไขเมื่อใช้ B10

1. การเปลี่ยนหัวฉีดและล้างทำความสะอาดหัวฉีดรถยนต์ ทุก 10,000 กม.

2. เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงให้บ่อยขึ้นกว่าปกติ ทุก 15,000 กม.

3. การล้างถังน้ำมันอย่างน้อยทุก 4 เดือน หรือสั้นกว่า


จะเห็นว่ารอบในการดูแลจะถี่ขึ้นใช่ไหมครับ ถูกต้องครับ เพราะไบโอดีเซล B10 นั้นด้วยอัตราส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า ทำให้มีโอกาสเกิดน้ำ และคราบไขมากกว่า ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันในเครื่องยนต์และอาการต่างๆ ได้ง่ายกว่านั่นเอง


ซึ่งในการทำความสะอาดทุกรายการ เสียเวลารวมมากถึง 3-4 ชั่วโมง หรือลูกค้าต้องทิ้งรถไว้ที่ศูนย์บริการ เสียทั้งเวลา ทั้งรถที่จะไปวิ่งหาเงิน แต่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั้งหมดเพราะศูนย์จะถอดล้างเฉพาะตัวถังน้ำมันเท่านั้นแถมเสียน้ำมันค้างถังทั้งหมด ส่วนท่อทางเดินน้ำมัน ปั้มหรือส่วนอื่นๆ ที่ไม่สามารถถอดออกมาล้างได้นั้น ทั้งคราบไข สนิม กาก biofilm ยังคงเกาะติดอยู่เช่นเดิม

แต่ถ้าคุณอยากหาวิธีที่ง่ายกว่า ถูกกว่า นาทีเดียวเสร็จ ล้างได้หมด แถมใช้รถได้ปกติ

ลองดูข้างล่างเลย

v v v v v v


ช่วงขายของ !!

โฟรตรอน ไบโอดีเซล พลัส ทรืทเม้นท์ (Fortron Biodiesel Plus Treatment) หรือ BP ผลิตภัณฑ์ล้างระบบเชื้อเพลิง สำหรับรถที่เติมไบโอดีเซลโดยเฉพาะ (ย้ำว่า โดยเฉพาะ)



นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นระหว่างออสเตรเลียและไทย เพื่อการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ที่สามารถขจัดผลกระทบจากไบโอดีเซลได้โดยตรงทุกเกรดตั้งแต่ B7 B10 B20 B100 ช่วยในการขจัดน้ำ คราบไขมัน ป้องกันการเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย สลายและป้องกันการเกิดไบโอฟิล์ม รวมถึงการทำความสะอาดระบบเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ตั้งแต่ถังน้ำมันจนถึงปลายหัวฉีด ช่วยลด PM10 PM2.5 และเป็น ECO Product

ที่สำคัญผลิตโดยการผ่านการควบคุมมาตรฐาน TUV Nord ที่เป็นมาตรฐานยานยนต์ระดับสากล และรับประกันความเสียหายสูงถึง 400 ล้านบาท

สิ่งที่ผู้ใช้รถจะสัมผัสได้จากการใช้โฟรตรอน ไบโอดีเซล พลัส (BP)

- ลดควันดำ และ pm2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ได้ตั้งแต่ขวดแรก

- อัตราเร่งดีขึ้น

- ประหยัดน้ำมันมากขึ้น การไหลเวียนเชื้อเพลิงดีขึ้น

- ยืดอายุเครื่องยนต์ ลดค่าซ่อมบำรุงรถยนต์ต่อครั้งลงได้สูงสุดถึง 10 เท่า

สิ่งที่สังคมจะได้รับ

- ลดฝุ่นควัน pm2.5 จากควันรถยนต์ลง ทำให้อากาศสะอาดมากขึ้น

- สภาพแวดล้อมดีขึ้น

- สุขภาพของประชาชนดีขึ้น

- ลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ

- ช่วยพยุงราคาน้ำมันปาล์มดิบให้เกษตรกร

- ตอบสนองนโยบายด้านพลังานทดแทน ไบโอดีเซล ของรัฐบาล

- นโยบายพลังงานด้านไบโอดีเซลจะสามารถใช้คู่กับสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน โฟรตรอน มีจำหน่ายในศูนย์บริการรถยนต์ชั้นนำทั่วประเทศที่เป็นแบรนด์ทั้งค่ายรถญี่ปุ่นและยุโรป ได้แก่ Toyota, Isuzu, Honda, Mercedez Benz, MG, Hyundai, Suzuki, Mitsubishi, Nissan, Mazda, Chevrolet, Ford ฯลฯ และศูนย์บริการ Bridgestone A.C.T. , Cockpit , Tyreplus, Autoboy, Dunlop ฯลฯ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่เลย

FB Message : m.me/fortrongroup Line OA : @Fortron Tel : 02-961-3727 / 062 764 4455 Email: info@force.co.th


หรือช่องทางสั่งซื้อออนไลน์



#Fortron #โฟรตรอน #ไบโอดีเซล #ดีเซลB7 #ดีเซลB10 #ดีเซล #รอบรู้ดูแล


บทความนี้ ได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ อนุญาตให้เผยแพร่ได้ โดยให้เครดิต #Fortron เจ้าของบทความ

ดู 188,788 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page