"แชมป์โลก" ใครๆ ก็อยากเป็น ใครๆก็อยากได้
ทั้งชื่อเสียงเรียงนาม และเงินทองมากมายมหาศาล
แต่แชมป์โลกที่ไม่มีใครอยากได้ ไม่มีเงินรางวัล ทำไมไทยเราถึงได้
และเราเป็นแชมป์ของอะไรนั้น เรามาช่วยวิเคราะห์ไปพร้อมกันครับ
ณ ปัจจุบันสถิติตัวเลขยานพาหนะบนท้องถนนของไทยเรามีรถยนต์และรถกระบะมากถึง 16
ล้านคันโดยประมาณ มอเตอร์ไซต์ 20 ล้านคัน และอื่นๆ เป็นรถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง
รวมกว่า 1.2 ล้านคัน โดยประชากรในบ้านเรา ปัจจุบันมีราวๆ 68 ล้านคน สังเกตไหมครับว่ามี
ผู้มียานพาหนะส่วนตัวกว่า 50% เลยทีเดียว
ทีนี้เรามาดูสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนบ้านเรากัน โดยเฉลี่ยต่อปีบ้านเรามี 24,000 เคส และ
มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป กว่า 70% ของอุบัติเหตุเป็นมอเตอร์ไซต์ครับ
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเวียดนามเพื่อนบ้านของเรา ปัจจุบันมีผู้มียานพาหนะส่วนตัวกว่า 50 ล้านคัน
และเป็นมอเตอร์ไซต์ถึง 45 ล้านคัน แต่สถิติการเกิดอุบัติเหตุต่อปี เฉลี่ยเพียงแค่ 20,000 เคส
เท่านั้น น่าสงสัยนะครับว่า ทำไม๊..ทำไม รถเขาก็เยอะกว่า แต่อุบัติเหตุเขาถึงน้อยกว่าเรา
ลองจินตนาการว่าเมื่อท่านขับรถออกไปข้างนอก ท่านจะพบกับอะไรบ้าง
"ขี่มอเตอร์ไซต์ไม่สวมหมวก" "ซ้อน3ซ้อน4" "ขี่สวนเลน" "ขับรถปาดขวาแซงซ้าย" "ขับรถจึ้ท้ายคันหน้า" "ขับรถเร็ว" “ฝ่าไฟแดง”
คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภาพเหล่านี้คือภาพที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน
สรุปคือ "คนไทยส่วนใหญ่ขาดวินัยในการใช้ถนน"
สังเกตจากที่กรมการขนส่งทางบกมีประกาศเพิ่มระดับความยากของการสอบใบขับขี่ในหลายปีที่่
ผ่านมา และล่าสุดไม่นานมานี้ยังมีการเพิ่มโทษปรับเมื่อไม่พกใบขับขี่ขึ้นเป็น 50,000 บาท
เพราะทางรัฐเองต้องการให้ผู้ใช้ถนนมีวินัยและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
จากการจัดอันดับของ World Health Organization
ในเรื่องการเสียชีวิตบนถนนไทยถูกจัดเป็นอันดับ 2 อัตราการตายอยู่ที่ 36.2 ซึ่งอันดับ 1 คือ ลิเบีย
73.4 แต่ทั้งนี้กว่า 70% การตายของลิเบียเกิดจากภาวะสงครามที่มีรบบนถนนกันแทบทุกวัน
เมื่อเทียบกับประเทศที่สงบสุขด้วยกันแล้วทำให้อันดับของไทยเรากลายมาเป็นที่หนึ่งนั่นเอง
อุบัติเหตุอันมากมายบนท้องถนน ที่ทำให้ไทยเราไต่อันดับขึ้นไปตั้งแต่แชมป์ระดับภูมิภาค จน
เป็นแชมป์โลกในที่สุด สาเหตุเกิดจาก "ความขาดวินัยในการใช้ถนนของคนไทย" แต่ลึกลงไป
นั้นมีปัจจัยเล็กๆ ซ่อนอยู่ ที่ผู้ใช้ถนนอาจจะมองข้ามไป
หากมีคนถามว่า "คุณคิดว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด" คำตอบมีมากมากทั้ง ขับรถ
ย้อนศร ขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดง ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือความขาดวินัย
ในการใช้ถนนทั้งสิ้น
ลองสมมติว่า "ขับรถเร็ว" คือสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
ถ้าเช่นนั้นบนทางด่วนหรือทางพิเศษก็เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดสิ...?
...ผิดครับ...
อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนมีเพียงแค่ 0.0001% จากรถที่ใช้ทางด่วนต่อวันเกือบ 2 ล้านคัน
แปลกไหมครับ รถวิ่งก็เร็วหลัก 100 บางคนตีนผีเหยียบถึง 180 ก็มี แต่ทำไมการเกิดอุบัติเหตุ
มันน้อยมากๆ
ในช่วงปีก่อนหน้านี้มีอุบัติเหตุบนถนนมากถึง 328,988 ครั้ง เมื่อเทียบกับจำนวนรถกว่า 37
ล้านคันทั่วประเทศจะอยู่ที่ 0.9% นั่นหมายความว่าทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
อย่างน้อย 300,000 คน และ 821 คนต่อวัน
แหม... ธุรกิจเกี่ยวกับโลงศพ ดอกไม้จันท์ น่าจะรวยเละเลยนะครับ
เมื่อความเร็วรถไม่ใช่สาเหตุของอุบัติเหตุ แล้วอะไรกันที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมายขนาดนี้
สำหรับผู้ใช้รถทุกคน ลองคิดตามนะครับ
ถ้ามีรถมอเตอร์ไซต์ตัดหน้า "เท้า" ของคุณ "เหยียบ" อะไรอยู่?
ถ้ามีรถฝ่าไฟแดงมาด้วยความเร็วสูง "เท้า" ของคุณ "เหยียบ" อะไรอยู่?
ถ้าคันหน้าเกิดหยุดรถกะทันหัน "เท้า" ของคุณ "เหยียบ" อะไรอยู่?
...คิดว่าทุกคนคงมีคำตอบอยู่ในใจแล้วนะครับ...
การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มาจากสาเหตุเล็กๆ ที่ทุกคนมองข้ามไป
ผู้ใช้รถกว่า 90% เลือกจะขับเป็นอย่างเดียวและยกหน้าที่ในการดูแลรถให้ช่างและศูนย์
จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถตรวจเช็คสภาพรถได้ด้วยตาเราเองก่อนจะเกิดอุบัติเหตุ
หรือถึงมือช่างไม่ดีจะได้ไม่ถูกฟันหัวแบะ
ระบบต่างๆ ภายในรถมีมากมายทั้งระบบแอร์ ระบบหัวฉีด ระบบไฟ ระบบเบรคและอื่นๆ ในรถรุ่นใหม่ๆ จะมีระบบควบคุมความเร็วที่ทำให้ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง รถก็วิ่งได้ หรือ ระบบสื่อสารระยะไกลผ่านดาวเทียม ที่ทำให้เราสามารถติดตามรถได้
บางคนซื้อรถมาเป็น 10 ปีเพิ่งรู้ว่า "อ้าว...รถเรามีฟังก์ชั่นแบบนี้ด้วยเหรอ"
กลายเป็นใช้รถไม่คุ้มไปซะอย่างนั้น
และระบบที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ "ระบบเบรก"
"รถเบรกไม่อยู่ = อุบัติเหตุ" เป็นสมการง่ายๆ ที่ผู้ใช้รถทุกคนรู้ แต่กว่า 90% ไม่ใส่ใจ
ความสนใจจะไปตกอยู่กับระบบน้ำมันเครื่อง ล้างหัวฉีด ทำยังไงเครื่องถึงจะแรง
หรือใช้ได้ปกติ เร่งขึ้น วิ่งได้ ไม่ขัดขวางการเดินทาง
ซึ่งนอกจาก 2 ระบบนี้ ระบบเบรกคือส่วนสำคัญที่ต้องใส่ใจด้วยครับ
ไม่เช่นนั้นแรงไป ได้แปปเดียว เดี๋ยวก็ลงไปนอนกองริมถนน
ระบบเบรก มีอยู่ 3 ส่วนที่ต้องดูแลได้แก่ ผ้าเบรก ยางและน้ำมันเบรค
ผ้าเบรก และยาง เมื่อหมดสภาพ ผู้ขับขี่จะสามารถรู้สึกได้ทันที ว่าใช้ระยะเบรกไกลขึ้นกว่าเดิม และสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้
แต่น้ำมันเบรก คือส่วนที่อยู่ภายใน เมื่อหมดสภาพผู้ขับขี่จะไม่ทราบเพราะไม่มีไฟโชว์ที่หน้าปัด
รู้อีกทีก็คือ "ตูมมม.... เกิดอุบัติเหตุ"
นั่นแหละครับ คือสิ่งที่บอกว่ามันหมดสภาพแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่เราควรตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ ลิสต์ออกมาได้ดังนี้ครับ
1.ผ้าเบรคควรเปลี่ยนทุก 50,000 กิโลเมตร หรือความหนาไม่ควรต่ำกว่า 2-3 มม.
2.ยางควรเปลี่ยน 50,000 กิโลเมตร หรือทุก 2 ปี หรือดอกยางหมด หน้ายางแตก
3.น้ำมันเบรคควรเปลี่ยนทุก 10,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี หรือมีน้ำมันเบรคมีสีคล้ำ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้รถของผู้ขับขี่ด้วยนะครับ หากใช้งานหนัก
ความถี่ในการดูแลก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับครับ
เมื่อเราเบรคอยู่ เบรคได้ดั่งใจ เบรคได้ทันท่วงที อุบัติเหตุจะลดลง
มาช่วยกันเถอะครับ ลดอันดับ "แชมป์โลก" ที่ไม่มีใครอยากได้ เริ่มวันนี้ที่ตัวคุณเอง
...ก่อนจะออกถนนวันนี้ เช็คระบบเบรกของคุณหรือยัง?...
ขอบคุณสถิติและข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ http://www.thairsc.com/
กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย http://www.exat.co.th
องค์กรอนามัยโลก http://www.who.int
ศูนย์บริการรถยนต์ตามระยะทาง Autoquiks https://www.autoquiks.com/
"ดูแลตามระยะทาง วางใจออโต้ควิกส์"
#Autoquiks #ศูนย์บริการรถยนต์ตามระยะทาง
Comments